Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

การเรียนรู้ในโรงเรียน -นักเรียนควรเลือกแบบไหนถึงเหมาะกับตัวเองที่สุด?

กับตัวเองที่สุด?

E-Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น สถาบันการศึกษาหลายแห่งหันมาปรับการเรียนการสอนอยู่ในพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น และมาพีคสุดๆ ในปี 2020 ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (COVID-19) ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกถูกจำกัดบริเวณ ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ รวมถึงการไปเรียนหรือสอนหนังสือที่โรงเรียนด้วย

โชคดีที่ว่า E-Learning ไม่ใช่เรื่องใหม่ จึงไม่ต้องรอเวลาพัฒนาเพื่อใช้งาน ทุกคนก็สามารถเข้าถึงระบบการสอนออนไลน์ได้แทบทันทีหากมีอุปกรณ์และระบบอินเตอร์เน็ตอยูในมือ อีกทั้ง ระบบการเรียนออนไลน์ยังมีหลายรูปแบบให้เลือก วันนี้ WOW จึงมาเปรียบเทียบระบบ E-Learning ซึ่งอยู่ 4 แบบหลักๆ ในปัจจุบันให้ดูว่า มีรูปแบบไหนบ้าง และสถาบันการศึกษาหรือผู้เรียนควรเลือกระบบ e learning แบบไหน ถึงจะเข้ากับตัวเองที่สุด

ระบบ E Learning คือ อะไร และ LMS คือ อะไร? 

LMS ย่อมาจาก Learning management System คือ แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนหรือการฝึกฝน ระบบสามารถทำได้ทั้งบริหาร จัดทำเอกสาร ติดตามผล รายงาน และที่สำคัญคือ นำเสนอคอร์สเรียนให้กับผู้เรียนได้ LMS ส่วนใหญ่สามารถจัดการข้อมูลได้ทุกรูปแบบ เช่น วิดีโอ คอร์สเรียน และเอกสาร

สองอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน?

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน หากเราพูดถึง E Learning จะไม่เท่ากับ LMS เพราะ e learning หมายถึง การเรียนออนไลน์ ซึ่งจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ใดก็ได้ แต่ LMS จะเป็นแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ หมายความว่า LMS อยู่ในระบบ e learning ทั้งหมด ทีนี้เรามาดูข้อมูลของแต่ละระบบอย่างละเอียดกันว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง

อ่าน : เว็บที่ดี เว็บสวย หน้าตายังไง? เว็บไซต์เราต่างจากคู่แข่งได้อย่างไร?

4 ทางเลือก ระบบเรียนออนไลน์ E-Learning

1. ระบบ Learning Management Systems (LMS)

Learning Management Systems (LMS) เป็น ทางเลือกหรือรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่คนนิยมใช้มากที่สุด ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้งาน LMS ได้เสมือนเป็นห้องเรียนจริงๆ เลย ทั้งการเปิดคลาสอภิปรายในชั้นเรียน อัพโหลดไฟล์การอ่าน แสดงคลิปวิดีโอหรือเล่นคลิปเสียง รวมถึงประเมินการเรียนหรือประกาศผลการสอบก็ทำได้หมด

ระบบ LMS ยังสามารถเก็บไฟล์การเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ไฟล์ MS Office วิดีโอ หรือแม้แต่แอปพลิเคชัน และส่งต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เมื่อพูดถึงความกว้างขวางของแพลตฟอร์มประเภทนี้ก็เป็นระบบให้คนใช้งานได้พร้อมกันหลายคนได้

ทางเจ้าของแพลตฟอร์มยังเลือกได้ว่าจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เช่น โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา หรือเก็บไว้บนระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud ซึ่งทางเลือกอย่างหลังก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเวลานี้

ฟีเจอร์หลักหรือมาตรฐานของ LMS โดยทั่วไป

  • ระบบเก็บข้อมูลเชิงสถิติเพื่อประเมินและสรุปเป็นรายงาน (Analytics)
  • แอปพลิเคชัน
  • ระบบส่งงาน/การบ้าน (Assignment)
  • พื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรืออภิปราย (Forum)
  • พื้นที่อัพโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์
  • ระบบให้คะแนน (Grading)
  • ระบบส่งข้อความอัตโนมัติ
  • ปฏิทินออนไลน์
  • ข่าวสารและการประกาศออนไลน์
  • การสอบออนไลน์ (Quiz)
  • สารานุกรมออนไลน์
  • ระบบเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย (Social Media Widgets)